FDA การขออย.
1.ตั้งชื่อแบรนด์ : ทั้งชื่อภาษไทยและEng เช่น Bomer โบเมอร์ / Dior ดิออร์
2.อธิบายชื่อแบรนด์สื่อถึงอะไร : อธิบายความหมายหรือสื่อถึงอะไร เช่น เป็นชื่อย่อของลูก ขอเจ้าของแบรนด์ หรืออื่นๆ
3.ตั้งชื่อเครื่องสำอาง : ชื่อที่บ่งบอกสรรพคุณและลักษณะเนื้อครีม เจล เซรั่มหรืออื่นๆ และอาจเป็นชื่อสารที่อยู่ในสูตร เช่น Argan Hair Serum อาร์แกน แฮร์ เซรั่ม / Whitening Gluta Cream ไวท์เท็นนิ่ง กลูต้า ครีม / Perfume เพอร์ฟูม เป็นต้น
การขออย.เครื่องสำอางมี2ขั้นตอนหลักๆ คือ 1.ขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิตก่อน 2.หลังจากนั้นค่อยขออย. แต่ปัจจุบันลูกค้าสามารถขอได้เลยโดยไม่จำเป็นต้อง “ขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิต” โรงงานจะขอ “รหัสผู้ว่าจ้างผลิต” ให้ในกรณีที่ลูกค้าต้องการหรือสินค้าตัวนั้นเป็นสินค้าที่มีความสุ่มเสี่ยงจะผิดกฏหมายอย.ไทย เช่น
- เครื่องสำอางเกี่ยวกับการนวด
- เครื่องสำอางบาล์มนวดผ่อนคล้ายสูตรร้อน
- เครื่องสำอางที่ใช้กับจุดซ่อนเร้น
- เครื่องสำอางเจลบำรุงผิวที่ใช้หล่อลื่นได้
STEP1 ขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิต
การขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิต (ถ้าไม่ต้องการสามารถข้ามไป Step2 ได้เลย)
ลูกค้าทุกท่านที่ต้องการจดอย. จะต้องขอรหัสผู้ว่าจ้างผลิตก่อนทุกคนโดยใช้เอกสารตามนี้ แต่ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องขอใหม่ สามารถบอกรหัสผู้ว่าจ้างกับเราได้เลยครับ โดยรหัสผู้ว่าจ้างคือ เลขที่บัตรประชาชนหรือเลขทะเบียนบริษัทนั้นเองครับ ถ้าส่งเอกสารช้าจะได้อย.ช้าด้วยนะครับ
กรุณาดาวน์โหลดเอกสาร3ใบนี้แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนด้วยนะครับ
ส่งเอกสารตามที่อยู่นี้ครับ
บริษัทเลเจนด์ อ๊อฟ โปรดักส์ จำกัด จ-ศ 10.00-16.30น.
โทร 083-0878579 (คุณบอม)
42/11 ม.7 ถ.จตุโชติ ซอย20 แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
https://goo.gl/maps/7NfPbAKo47AbYFkc7
ยื่นผู้ว่าจ้างผลิตแบบบริษัท(นิติบุคคล)
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (เซ็นต์และประทับตราทุกหน้า)
2. สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ลงนามในบริษัทนั้นๆ เซ็นต์และประทับตรา)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน (ตามที่อยู่จดทะเบียนบริษัท เซ็นต์และประทับตรา)
เอกสารที่ต้องกรอกสำหรับยื่นผู้ว่าจ้างผลิต
1. จดหมายยื่นขอผู้ว่าจ้างผลิต 1 ใบ
2. ใบมอบอำนาจให้ผู้ยื่นของผู้ว่าจ้างผลิตแทน 1 ใบ พร้อมประทับตราบริษัท
** 2 ใบนี้จะมีตัวอย่างให้ โปรดกรอกรายละเอียดตามตัวอย่างที่ส่งให้ค่ะ **
3.เอกสารให้ความยินยอมเก็บข้อมูล
รูปแบบการกรอกของนิติบุคคล

การยื่นผู้ว่าจ้างผลิตแบบบุคคล
1. เอกสารสำเนาบัตรประชาชน (เซนต์สำเนาถูกต้อง)
2. เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน (เซนต์สำเนาถูกต้อง)
เอกสารที่ต้องกรอกสำหรับยื่นผู้ว่าจ้างผลิต
1. จดหมายยื่นขอผู้ว่าจ้างผลิต 1 ใบ
2. ใบมอบอำนาจให้ผู้ยื่นของผู้ว่าจ้างผลิตแทน 1 ใบ
** 2 ใบนี้จะมีตัวอย่างให้ โปรดกรอกรายละเอียดตามตัวอย่างที่ส่งให้ค่ะ **
3.เอกสารให้ความยินยอมเก็บข้อมูล
รูปแบบการกรอกของบุคคลธรรมดา

STEP2 การขออย.และตั้งชื่อแบรนด์
กฏระเบียบในการตั้งชื่อเครื่องสำอาง ตามกฏหมาย อย.
- ควรตั้งชื่อที่ไม่มีความหมายในภาษาอังกฤษ และสื่อไปในทางความสวยงามที่เป็นเครื่องสำอาง
- ตั้งชื่อที่เป็นชื่อบุคคลได้ หรือชื่ออื่นๆแต่ต้องเขียนอธิบายกับเจ้าหน้าที่อย.ด้วยว่าสื่อถึงอะไร ทำไมถึงตั้งชื่อนี้
- ต้องไม่ตั้งชื่อไปในทำนองโอ้อวด ไม่สุภาพ หรือ อาจทำให้เข้าใจผิดจากความจริง
- ต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง
- ต้องไม่ใช้ชื่อที่ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย หรือส่อไปในทางทำลายคุณค่าทางภาษาไทย
- ยกตัวอย่าง ชื่อที่ไม่ผ่านในการตั้งชื่อเครื่องสำอาง
- Judo (จูโด้) เหตุผล อาจทำให้เข้าใจผิดในการอ่านได้ และจูงใจไปในทางเพศ
- Hair growth (แฮร์ โกล) แปลว่า ทำให้เส้นผมเติบโต ซึ่งเครื่องสำอางไม่เข้าข่ายทำให้เส้นผมงอกได้ เจ้าหน้าที่ว่าแบบนั้น คือไม่ให้มีคำว่า growth นั้นเอง
- Varicose veins (เวรีคอส เวนส์) แปลว่าเส้นเลือดขอด ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง จะเข้าข่ายเป็นยาลดเส้นเลือดขอด
- ยาหม่อง ไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง เข้าข่ายเป็นยา
- Banana (บานาน่า) เป็นชื่อที่สื่อเป็นอาหารไม่ได้สื่อเป็นเครื่องสำอาง และบางครั้งสื่อไปในทางเพศเลยไม่ผ่าน
- ทั้งนี้การพิจารณาให้ผ่านอย.อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่อย.ทั้งหมดครับ
บริการอื่นๆ