รู้ทันโรงงานผลิตครีม เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนทำสัญญาจ้าง

การทำธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หากเจอคู่สัญญาที่มีความซื่อสัตย์ ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ถือว่าเป็นเรื่องที่โชคดีมากเลยทีเดียว แต่ในสังคมปัจจุบัน การทำธุรกิจไม่ว่าจะกับใคร หรือแม้แต่กับญาติพี่น้อง คนรู้จัก ต้องใช้ระมัดระวัง ความรอบครอบเป็นอย่างมาก การทำธุรกิจกับโรงงานผลิตครีมก็เช่นกัน ทุกอย่างต้องดูให้ถี่ถ้วนและตรวจสอบเสมอ เพราะหากพลาดในการลงทุนแล้ว ก็เจ็บไม่ใช่น้อยเลย

รู้หรือเปล่าว่าก่อนทำสัญญาจ้างโรงงานผลิตครีม เราควรจะต้องรู้เท่าทันโรงงานอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เราเสียเปรียบหรือโดนหลอกในภายหลังสิ่งที่โรงงานที่เราเลือกต้องมี มีด้วยกัน 2 ข้อหลัก ๆ คือ

  1. ISO (International Standards Organization) คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพในเรื่องของระบบการบริหารและระบบการดำเนินงานหรือวิธีการขับเคลื่อนขององค์กรนั้น ๆ ว่ามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก และทั่วโลกนิยมใช้มาตรฐานนี้ ISO มีมาตรฐานการวัดทั้งหมดดังนี้

ISO 9000 คือ เป็นแนวทางในการเลือกใช้ข้อบังคับ และการบริหารจัดการให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น

ISO 9001 คือ มาตรฐานในการผลิต จัดตั้งโรงงาน หรือแม้กระทั่งการพัฒนา

ISO 9002 คือ มาตรฐานในการผลิตหรือดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนด

ISO 9003 คือ การประเมินการปฏิบัติงานขั้นตอนสุดท้ายว่า การผลิตของโรงงานหรือการบริหารของธุรกิจนั้น เป็นไปตามเงื่อนไขหรือข้อกำหนดหรือไม่

ISO 9004 คือ การข้อปฏิบัติหรือข้อกำหนดที่ทำให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อีกหนึ่งตัววัดที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน คือ ISO14001 หมายความว่า การจัดตั้งและดำเนินงานของโรงงานหรือธุรกิจ ไม่ใช่แค่ปลอดภัยกับผู้บริโภค แต่ต้องปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยาว ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพชีวิตของผู้คนที่มีบ้านเรือนในละแวกนั้น หรือธรรมชาติโดยรอบ

ซึ่งหากโรงงานผลิตครีมมี ISO ตัวใดตัวหนึ่งมาการันตี ก็ถือว่ามีมาตรฐานสูงเลยทีเดียว

  1. GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นกำหนดที่ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดตั้งโรงงาน วัตถุดิบในการผลิต บุคคลากรจนไปถึงระบบและขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาวางจำหน่าย และ GMP ไม่ได้ขอแค่ครั้งเดียวแล้วใช้ได้ตลอดชีพ แต่ GMP มีอายุตั้งแต่ 1 – 2 ปี แล้วแต่คะแนนการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากคุณภาพของโรงงานหรือธุรกิจนั้น ๆ ได้คะแนนสูง ก็จะได้ GMP สองปี แต่ถ้ามีข้อบกพร่องบ้างนิดหน่อยก็จะได้รับ GMP แค่เพียงหนึ่งปีเท่านั้น

หลังจาก GMP หมดอายุ เจ้าของธุรกิจต้องดำเนินการขอต่ออายุ GMP จากนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก็จะทำการตรวจสอบ ทุกอย่างตามข้อกำหนด และทำการประเมินคะแนนใหม่ทั้งหมด โดยไม่อิงจากภาพลักษณ์เดิม ต้องบอกว่า GMP ไม่ใช่ว่าจะได้กันง่าย ๆ เพราะต้องผ่านการตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก ดังนั้นหากโรงงานผลิตครีมที่ท่านต้องตาต้องใจมี GMP มาแสดงให้ท่านดู ถือว่าเชื่อถือได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

หากโรงงานที่ท่านจะทำสัญญาจ้างด้วยมีตัวบ่งชี้ทั้งสองตัวนี้ ก็ถือว่าปลอดภัยและมีมาตรฐาน แต่สมัยนี้กลโกงในการทำธุรกิจ นั้นเป็นไปอย่างแนบเนียนและทำกันอย่างไม่เกรงกลัวกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยกับเงินลงทุนของท่าน ขอให้ท่านนำชื่อโรงงานผลิตครีมดังกล่าวไปตรวจสอบกับ อย. โดยตรงจะดีกว่า