การโฆษณาสินค้าเครื่องสำอาง

 

ความหมายของการโฆษณา

“ การโฆษณา” (advertising) เป็นการเสนอข่าวสารการขาย หรือแจ้งข่าวสารให้บุคคลที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทราบเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือแนวความคิด โดยเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์เปิดเผยตนเอง มีการจ่ายเงินเพื่อการใช้สื่อ และเป็นการเสนอข้อมูลที่มิใช่เป็นการส่งบุคคลเข้าไปติดต่อโดยตรง

หน้าที่ของการโฆษณา

จุดมุ่งหมายหลักของการโฆษณา ก็คือ การขายสินค้า แต่จุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นฉับพลันก็คือ การติดต่อสื่อสาร (Immediate purpose is to communicate) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แอบแฝงด้วย หน้าที่ที่สำคัญของการโฆษณามีหลายประการ คือ

 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ (Creating Awareness) ต้องการให้ผู้บริโภครับรู้ว่าขณะนี้สินค้าของเรามีวางจำหน่ายแล้วในตลาด

 เพื่อสร้างสรรค์ภาพพจน์ที่ดี (Creating a Favorable Image) สินค้าในตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ ผู้โฆษณาจึงใช้ความพยายามที่จะสร้างสรรค์งานโฆษณาให้มีความแปลกใหม่ และของผู้บริโภคมากกว่ายี่ห้อใดๆ ในสินค้าประเภทเดียวกัน เพื่อให้ผู้บริโภคมีภาพลักษณ์ที่ดี พึงพอใจในคุณสมบัติ และบุคลิกของสินค้า

 เพื่อชักจูงใจกลุ่มเป้าหมาย หน้าที่ของโฆษณาจะต้องหาจุดเด่น หรือจุดขายของสินค้า และพยายามให้เขายอมรับว่าจุดดีเด่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต่อการบริโภค

 เพื่อกระตุ้นแหล่งที่จะนำสินค้าไปจำหน่าย (Outlets) เช่น ร้านค้าขายปลีก ร้านค้าส่ง เป็นหน่วยงานย่อยลงมาที่จะทำให้สินค้าไปสู่มือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ถ้าหากแหล่งขายปฏิเสธการรับสินค้าไปจำหน่ายก็เท่ากับเป็นการปิดตลาดสำหรับสินค้านั้นๆ

 เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า สินค้าที่ทำงานโฆษณาดี จะทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีแก่สินค้าด้วย ผู้บริโภคจะมีความเข้าใจในคุณภาพ ตัดสินใจซื้อด้วยความภูมิใจในตรายี่ห้อ ของสินค้านั้นๆ

 เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่บริษัทผู้ผลิต การโฆษณานั้นสามารถทำได้ทั้งโฆษณาสินค้า และโฆษณาเพื่อสังคมซึ่งเป็นการโฆษณาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่บริษัท โดยการโฆษณาแสดงความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม ความห่วงใยเอื้ออาทรต่อสังคมที่บริษัทมีต่อประเทศชาติ ประชาชน เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การช่วยกันรักษากฎจราจร

 ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน เพราะชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบันเคร่งเครียด ต้องรับร้อนแข่งขันกันตลอดทั้งวัน เมื่อกลับถึงบ้านถ้าพบการโฆษณาที่ให้ความสนุกสนาน ชวนให้เกิดอารมณ์ขันจะทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินคลายเครียด

 

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง  ผลิตภัณฑ์ที่กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องยื่นขออนุญาต
แต่จะต้องโฆษณาอยู่ในขอบเขตกฎหมาย

เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณาเครื่องสำอาง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การกำกับดูแลการโฆษณาเครื่องสำอางจึงใช้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นหลัก
หลักการกำกับดูแลการโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคเน้นให้ผู้ประกอบธุรกิจตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง ในการให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่สาธารณชนภายในกรอบกำหนดตามกฎหมาย และหากมีเหตุอันควรสงสัยก็ต้องพร้อมที่จะพิสูจน์ว่าข้อความที่โฆษณานั้นเป็นความจริง ซึ่งหลักการนี้จะแตกต่างจากการกำกับดูแลโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพชนิดอื่น ๆ สรุปได้ดังนี้
1. ไม่ต้องขออนุญาตทางภาครัฐก่อนทำการโฆษณา ผู้ประกอบธุรกิจสามารถโฆษณาเครื่องสำอางผ่านสื่อต่าง ๆ ได้โดยมิต้องมายื่นขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่จะต้องปฏิบัติตามกรอบกำหนดของกฎหมาย และพร้อมที่จะแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าข้อความที่โฆษณานั้นเป็นความจริง
2. ข้อกำหนดตามกฎหมายในการโฆษณาเครื่องสำอาง ได้แก่
ก. ต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ทั้งนี้ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือ บริการ ตลาดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่

1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการ ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใด สิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม
3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยก หรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตามข้อ 1
ข.การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิด หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ค.การโฆษณาเครื่องสำคัญที่มีข้อความเกี่ยวกับการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค จะต้องแสดงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของรายการในการโฆษณาให้ครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง
อนึ่ง เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยสะดวก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกประกาศเรื่องแนวทางการพิจารณาข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเครื่องสำอาง  และแนวทางในการแสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์หรือสนับสนุนข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเครื่องสำอาง

การโฆษณา “ เครื่องสำอาง 

  1. พนักงานเจ้าหน้าที่ •ใครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พระราชบัญญัติเครื่องสาอางบ้าง?
  2. ลักษณะการโฆษณาเครื่องสาอาง • การโฆษณาเครื่องสาอาง
    -กฎหมายมิได้กาหนดให้ต้องยื่นขออนุญาต
    -ต้องโฆษณาอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย
  3. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    -พระราชบัญญัติเครื่องสาอาง พ.ศ. 2535 มาตรา37 “ให้นาบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการ คุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคใน ด้านการโฆษณา มาใช้บังคับแก่การโฆษณาเครื่องสาอางโดย อนุโลม โดยให้ถือว่า อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค เป็นอานาจของรัฐมนตรีและให้ถือว่า อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเป็น อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ”
    “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522”
    -การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อ ผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็น ส่วนรวม
    -การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความ ราคาญแก่ผู้บริโภค ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  4. ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม
    -ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
    -ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสาคัญเกี่ยวกับสินค้า
    -ข้อความที่สนับสนุนให้เกิดการกระทาผิดกฎหมายหรือศีลธรรม
    -ข้อความที่ทาให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคี ในหมู่ประชาชน
    -ข้อความอื่นที่กาหนดในกฎกระทรวง
  5. ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่า เป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่ จัดเป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณา
  6. แนวทางการพิจารณาการโฆษณาเครื่องสาอาง
    -เป็นเท็จหรือไม่
    -เกินจริงหรือไม่
    -ทำให้เข้าใจผิดสาระสาคัญของเครื่องสาอางหรือไม่
    -หากมีการอ้างรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย ต้องพิสูจน์ได้ว่า ข้อความนั้นเป็นจริง
    -หากมีการโฆษณาเปรียบเทียบต้องมีหลักฐานพิสูจน์ได้
  7. ข้อพิจารณาตามวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์
    เครื่องสำอาง  เพื่อความสะอาด สวยงาม หรือสุขอนามัยที่ดีไม่มีผลต่อโครงสร้าง หรือ การทาหน้าที่ใดๆ ของ ร่างกาย
  8. “ดุลยพินิจ”
    -แตกต่างกันแต่ละบุคคล ขึ้นกับ ความรู้ ทัศนคติ
    “เหตุผล”
    -เหตุผลใคร ผู้ประกอบการ หรือ เจ้าหน้าที่
    -เปลี่ยนไปตามแต่ละ สถานการณ์ และหลักฐานที่มี
    “กฎหมาย”
    -ค่อนข้างคงที่ และชัดเจน
  9. เมื่อความเห็นไม่ตรงกันแล้วใครเป็นผู้มีอานาจตัดสิน
    ผู้มีอานาจในการเปรียบเทียบคดีเกี่ยวกับโฆษณาตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีดังนี้
    -เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
    -รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
    -ผู้อานวยการสานักควบคุมเครื่องสาอางและวัตถุอันตราย

ข้อควรรู้ในการโฆษณา เครื่องสำอาง

1. “ขาว”  อย.ระบุไว้ชัดเจนว่า เครื่องสำอางไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผิวได้  สีผิวจัดเป็นโครงสร้างผิว  จึงห้ามโฆษณาว่าใช้แล้วจะขาว

2. “ต้านอนุมูลอิสระ”  ถ้าไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจน  ห้ามใช้คำนี้เป็นอันขาด

3. “รักษา”  ไม่ว่าจะเป็น  รักษาฝ้า  รักษาสิว  หรือรักษาอะไรก็แล้วแต่  เพราะเครื่องสำอางไม่ใช่ยา  จึงไม่สามารถรักษาอาการของโรคได้

4. “รับรองหรือรับประกันโดยอย.”  อย.ไม่เคยให้การรับรองความปลอดภัยของเครื่องสำอางแต่อย่างใด  แค่รับจดแจ้งขึ้นทะเบียนไว้เฉยๆ

5.  “เห็นผลทันทีใน 7 วัน”  จะกี่วันก็แล้วแต่  ไม่สามารถระบุผลลัพธ์ที่ชัดเจนขนาดนั้นได้  แต่อาจจะโฆษณาได้ว่า  ค่อยๆเห็นการเปลี่ยนแปลง  หรือรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้

ยังมีอีกหลายคำมากๆที่ อย.ไม่อนุญาติให้ใช้  อุตสาห์จ้างผลิตเครื่องสำอางที่มีคุณภาพสูงๆ  จากโรงงานผลิตเครื่องสำอางมาตรฐาน  ศึกษาคำต้องห้ามเหล่านี้ไว้จะได้ไม่ไปตกม้าตายมีปัญหากับหน่วยงานราชการนะค่า

 


———ขออนุญาติใช้รูปภาพนี้———

สำนักงานกิจการยุติธรรม แนะนำ 6 ข้อห้ามโฆษณาเครื่องสำอาง ทั้งนี้การจดทะเบียนนำเข้าเพื่อขาย รับจ้างผลิต ต้องจดทะเบียนรายละเอียดของเครื่องสำอาง และใบทะเบียนมีอายุ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการจดทะเบียน

เว็บไซต์การตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์
******* http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx

 

การใช้คำ Organic และ Natural เพื่อโฆษณา

ความแตกต่างระหว่าง Organic และ Natural

คำว่า ธรรมชาติ หรือ ( NATURAL) ต่างจากคำว่า ออร์แกนิค (ORGANIC) เริ่มตั้งแต่การสร้างสูตร, การผลิต, การบรรจุ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆที่ใช้ด้วย โดยคำว่าเนเชอรัล (Natural) และ ออร์แกนิค (Organic)
คือชื่อที่ใช้เรียกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ แต่คำจำกัดความที่ทำให้ 2 คำนี้มีความแตกต่างกัน ทาง ECOCERT ระบุไว้ดังนี้

สารสกัดจากธรรมชาติ เนเชอรัล (Natural) จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. สารสกัดจากธรรมชาตินั้นจะต้องได้มาจากธรรมชาติ (Natural)
เช่น น้ำมันอาแกน น้ำมันโจโจ้บาร์ น้ำมันมะพร้าว หรือ น้ำมันหอมระเหย

2. สารสกัดจากธรรมชาตินั้นจะต้องมีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ แต่อาจมีการกระบวนการผลิตบางอย่างที่ดัดแปลง จนได้ออกมาเป็นสารชนิดหนึ่ง (Natural Origin) เช่น Sodium Coco Glucoside ซึ่งเป็นสารสกัดที่ต้นกำเนิดมาจาก มะพร้าว เป็นต้น

สารสกัดจากธรรมชาติออร์แกนิค (Organic) คือ
สารสกัดที่ได้มาจากธรรมชาติ ซึ่งไม่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีดัดแปลงใดๆ อีกทั้งแหล่งต้นกำเนิดของสารสกัดนั้นๆ จะต้องไม่ผ่านการปลูกโดยใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป

ดังนั้นการที่จะบอกได้ว่าสินค้าใดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ (Natural) หรือ เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิคนั้น จึงมีวิธีการดู จากสารสกัดที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มักจะมีการใช้คำว่า ผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ (Natural) หรือ เป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์แบบออร์แกนิค (Organic) กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมาตรฐานของ ECOCERT ได้กำหนดไว้ดังนี้

สินค้าธรรมชาติ (Natural) จะต้องมีสารสกัดที่มาจากธรรมชาติ (Natural) หรือ สารสกัดที่มีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ (Natural Origin) อย่างน้อย 95% ของส่วนผสมทั้งหมด หากมีน้อยกว่านั้นจะไม่สามารถ กล่าวได้ว่าสินค้านั้นเป็นผลิตภัณที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ (Natural) ได้

สินค้าออร์แกนิคจะมีสิ่งที่เพิ่มเติมจากสินค้าธรรมชาติ คือจะ ต้องมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคผสมอยู่ไม่ต่ำกว่า 10% ของส่วนผสมทั้งหมด ซึ่งส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคนั้น ก็คือ สารสกัดที่ได้จากธรรมชาติ ที่ไม่ผ่านกระบวนการผลิตทางเคมีใดๆ และแหล่งต้นกำเนิดสารสกัดนั้นๆ จะต้องไม่ผ่านการปลูกโดยใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของสารเคมีเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป

Natural VS Organic ต่างกันอย่างไร

ซึ่งถ้าหากว่าสินค้าใดต้องการการรับรองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิคระดับมาตรฐานสากลนั้น จะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลก่อน ซึ่งแต่ละองค์กรนั้นก็จะมีข้อกำหนดมาตรฐานต่างกัน เช่น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับรองมาตรฐานจาก ECOCERT ได้นั้น จะต้องมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคในสัดส่วนขั้นต่ำ 75% ขึ้นไป ส่วนถ้าเป็นการรับรองโดยองค์กรของทางสหรัฐอเมริกา ตามมาตรฐานของ USDA แล้ว ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีส่วนผสมที่เป็นออร์แกนิคในสัดส่วนขั้นต่ำ 95% ขึ้นไปถึงจะได้รับการรับรองจาก USDA

ผลิตเครื่องสำอาง